Sunday, June 30, 2019

5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย






The National Gallery of Thailand, a subdivision of Fine Arts Department, Ministry of Culture, annually organize honorable art exhibition dedicated to senior artists, by our intention to bring out excellent artworks which created by notable senior artists to the eyes of public, selected artists on this exhibition whose works have been considered as high standard art pieces, and of course they are recognized by public as those who made significant contributions to visual Thai arts.

As we have seen the important role of women artists which they have contributed a lot to our country’s visual arts. On this year we decide to run an exhibition dedicated to them entitled “5 women artists & their roles on creating visual Thai arts”, by loaning valuable artworks from senior artists themselves, their heirs, including collectors, to join in this exhibition.





อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เข้าเยี่ยมชมงาน






Sulak Sivaraksa signed the guestbook







ศิลปิน หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล












🌸5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย🌸

ศิลปินสตรี 5 ท่าน ได้แก่
หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล 
คุณมีเซียม ยิบอินซอย 
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร 
อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ 
คุณไข่มุกด์ ชูโต

วันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 
เวลา 9.00 -16.00 น. 
ณ อาคารนิทรรศการ 6 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 
หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร



#5ศิลปินสตรีกับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย
#ครูศิลปะสำรวจงานศิลป์
#ชีวิตครูศิลปะที่รักเธอ❤️






































งานเสวนาในนิทรรศการ 
🌸5 ศิลปินสตรีกับบทบาทแห่งการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย🌸

🙏❤️อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์❤️🙏
ศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2559 
1 ใน 5 ของศิลปินสตรีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง

#ชีวิตครูศิลปะสำรวจงานศิลป์
#5ศิลปินสตรีกับบทบาทแห่งการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย

Symposium in the exhibition.

🌸 5 female artists with the role of creation. Cuddle Art of Thailand.






อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์
ศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2559
กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง



ศิลปินสตรีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะในไทย กลับมากระตุ้นให้คนไทยเข้าใจบทบาทของศิลปินหญิงที่มีต่อการพัฒนาแวดวงทัศนศิลป์ไทยอีกครั้ง ในรูปแบบของผลงานศิลปะอันสวยงามทรงคุณค่า เพื่อเชิดชูเกียรติผ่านนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี 2562 “ 5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



      นิทรรศการพิเศษชุดนี้ กรมศิลปากรได้คัดเลือกศิลปินสตรีอาวุโส จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล, คุณมีเซียม ยิบอินซอย, หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร, อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ และคุณไข่มุกด์ ชูโต นำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกัน แม้ว่าขณะนี้อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ เป็นเพียงท่านเดียวที่ยังสร้างงานศิลป์บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเอง ขณะที่ศิลปินอาวุโสท่านอื่นๆ ล่วงลับไปแล้ว แต่ได้ฝากผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะแสดงให้เห็นถึงตัวตน ตลอดจนบทบาทของศิลปินที่เคยโลดแล่นอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์งานทัศนศิลป์ไทย ชื่อของ 5 ศิลปินสตรีอยู่ความทรงจำของผู้รักงานศิลป์สมัยใหม่






ชื่มชมงานศิลปะแต่ละยุคของลาวัณย์ อุปอินทร์






      ศิลปินสตรีอาวุโส กล่าวด้วยว่า แม้ปัจจุบันมีศิลปินหญิงเข้าสู่ในวงการศิลปะมากขึ้น แต่ยังไม่มีบทบาทโดดเด่น และส่วนหนึ่งยังมีมุมมองว่าศิลปินชายเก่งกว่า แต่ไม่อยากให้ย่อท้อ ต้องต่อสู้ต่อไป ทำให้คนยอมรับว่าความสามารถเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ตนวางแผนเดือนมกราคม ปี 2563 จะจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งสุดท้ายในโอกาสอายุครบ 84 ปี โดยจะมีผลงานตั้งแต่สมัยเรียนศิลปะ และผลงานแต่ละยุคสมัย รวมถึงผลงานใหม่ด้วย   




หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
ราชนิกุลผู้นำเสนอมุมมองอันแปลกใหม่ในภาพเขียนตามแนวทางศิลปะเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก 

หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร (พ.ศ. 2474 – 2556) พระธิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เป็นราชนิกุลที่มีความสามารถในศาสตร์หลายแขนง ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในยุโรป โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาทรงเรียนรู้วิธีการเขียนภาพด้วยพระองค์เอง โดยทรงศึกษาจากผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง และทรงเข้าร่วมกลุ่มศิลปินในประเทศฝรั่งเศสเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ

ภาพเขียนของพระองค์มีรูปแบบโดดเด่นเฉพาะตน เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางความคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบสมัยใหม่โดยตรงจากยุโรป ภาพเขียนของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ แสดงอารมณ์ความรู้สึก มีรูปแบบเหนือจินตนาการ และสะท้อนปรัชญาชีวิต ตามแนวทางของศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก (Surrealism – Fantastic Art)

ภายหลังจากหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร สิ้นชีพิตักษัย พระญาติและพระสหายผู้ใกล้ชิด ได้ดำเนินการตามพระปณิธานในการก่อตั้ง มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย ในโอกาสนี้ ทางมูลนิธิฯ ได้ให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ยืมผลงานบางส่วนของท่านหญิงมาจัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย”





หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้มีบทบาทสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย

สำหรับทีมภัณฑารักษ์นิทรรศการ ประกอบด้วย ปัทมา ก่อทอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ, รัฐพงศ์ เกตุรวม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และธิติพงศ์ เสริฐวาสนาธัญญา นักวิชาการวัฒนธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากศิลปินและทายาท ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดสรรและให้ยืมงานศิลปะมาแสดง ถือเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก ได้เห็นงานศิลปะของแท้ด้วยตา ซึ่งศิลปินและทายาทเก็บรักษาไว้อย่างดี พิธีเปิดนิทรรศการมี คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, อรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร และอาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ และทายาทศิลปินทั้ง 5 ท่าน มาร่วมงาน




ชื่อผลงาน: La menace
ศิลปิน: หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด: 100 × 100 ซม.
ปีที่สร้างสรรค์: พ.ศ. 2537





คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน ร่วมงานเปิดนิทรรศการ 5 ศิลปินสตรีฯ

อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ วัย 83 ปี กล่าวว่า นิทรรศการนี้เป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะของไทย ได้มารับรู้ประวัติและเห็นผลงานของศิลปินหญิงแต่ละท่าน แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงก็มีความสามารถ ไม่ได้เก่งเฉพาะศิลปินชาย อย่าง ผู้หญิงหม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงงานด้านจิตรกรรม โดยเฉพาะภาพหุ่นนิ่งสวยมาก สะท้อนพระปรีชาสามารถ ภาพของท่านจะสีหม่นหน่อยด้วยทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก มีเซียม ยิบอินซอย ได้ไปพิพิธภัณฑ์เห็นผลงานของศิลปินในยุโรปด้วยตนเอง ทำให้มีความคิดที่ต้องการทำงานศิลปะจากพื้นฐานเดิมของตนเองที่มี แล้วไปเรียนศิลปะกับโมเนต์ ซาโตมิ ทูตวัฒนธรรมญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นจิตรกรจบจากสถาบันศิลปะในฝรั่งเศส ชอบเขียนภาพ ครั้งแรกที่มีเซียมส่งภาพทิวทัศน์ต้นไม้ริมทางเข้าประกวดรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ก็ได้รางวัลเหรียญทอง จากนั้นก็ได้รางวัลศิลปินชั้นเยี่ยม ก่อนจะหันมาทำงานประติมากรรม เรียนกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี งานก็เด่นมาก ส่วนหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ผลงานสวยงามมาก สไตล์ศิลปะตะวันตกเลย

















      “ สมัยเรียนศิลปะก็ต้องมีความพยายามมากกว่าผู้ชาย มีคำถามมากมาย ตอนแรกตั้งใจเรียนปั้น แต่ด้วยปัญหาสุขภาพเป็นโรคหอบหืดก็เปลี่ยนมาเรียนจิตรกรรม จนจบเป็นศิลปะบัณฑิตหญิงคนแรก  เมื่อทำงานศิลปะแรกๆ ก็มีคำถามต่อผลงาน คนไม่เชื่อว่าเราทำเอง แต่ก็ได้พิสูจน์และทำงานจิตรกรรมต่อเนื่องกว่า 60 ปี และที่ภาคภูมิใจที่สุด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ถวายงานเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ส่วนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์" อาจารย์ลาวัลย์ กล่าว




ไข่มุกด์ ชูโต 
ประติมากรหญิงคนแรกของเมืองไทย

คุณไข่มุกด์ ชูโต (พ.ศ. 2481 – 2539) เริ่มต้นการเป็นประติมากรหญิง ด้วยการสอบเข้าคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เรียนรู้วิธีการทำงานศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก (Academic Art) จากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีในยุคที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เริ่มต้นวางรากฐานการสร้างสรรค์งานประติมากรรมตามหลักวิชาการแบบตะวันตกในประเทศไทย เป็นเรื่องยากที่ผู้หญิงจะเลือกเรียนทางด้านประติมากรรม และยึดอาชีพเป็นประติมากร แต่ไข่มุกด์สามารถทำสำเร็จ ด้วยการเป็นศิลปบัณฑิตหญิง ด้านประติมากรรม คนแรกของเมืองไทย 

คุณไข่มุกด์เริ่มสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองจากการรับงานปั้นงานเขียนอิสระ จนกระทั่ง นายชูพาสน์ ชูโต ผู้เป็นญาติและรับราชการอยู่ในสำนักพระราชวัง ได้พาเข้าถวายตัวต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อปฏิบัติงานด้านประติมากรรมถวายราชสำนัก คุณไข่มุกด์มีผลงานสำคัญปรากฏให้เห็นมากมาย โดยเฉพาะงานออกแบบและปั้นหล่อ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระราชาอนุสาวรีย์ พระบรมรูป และพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานในสถานที่สำคัญต่างๆ ของประเทศ
















มรกต ยิบอินซอย ทายาทมีเซียม ยิบอินซอย บอกเล่าประติมากรรมถึง 'เต้นรำ'  






      มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร YIP IN TSOI ทายาทรุ่นหลาน มีเซียม ยิบอินซอย กล่าวว่า ได้รับการประสานยืมงานศิลปะของคุณย่า มีเซียม ยิบอินซอย มาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษครั้งนี้ ปกติประติมากรรมของคุณย่าจะติดตั้งในสวนศิลป์มีเซียม อ.สามพราน จ.นครปฐม และเปิดให้คนเข้าชมตามเจตนารมณ์คุณย่า ก่อนจะปิดลงเมื่อปี 2558 เพราะผลงาน Coy Girl ถูกโจรกรรมจนบัดนี้ยังไม่ได้กลับคืน เป็นสมบัติชาติที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียว ปัจจุบันประติมากรรมและภาพวาดของคุณย่าเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย สำหรับนิทรรศการนี้อยากเชิญชวนมาชมผลงานด้วยตา โดยไม่ต้องเข้าดูภาพในโลกอินเทอร์เน็ต ศิลปินทั้ง 5 มีความต่างกันในวิถีการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ 



      “ คุณย่าเริ่มทำงานศิลปะขณะที่มีอายุกว่า 40 ปี เรียนศิลปะกับโมเนต์ ซาโตมิ และอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ทราบว่า ท่านพากเพียร ตั้งใจเรียนมาก คุณย่าพูดเสมอว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” หลานๆ เติบโตมาได้เห็นชีวิตและการทำงานของคุณย่า อย่างประติมากรรมเด็ก “กระโดดเชือก” เรากระโดดเชือกเป็นอาทิตย์ ให้ท่านดูความเคลื่อนไหวด้วยจิตใจ ท่านจะปั้นด้วยดินน้ำมันขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ก่อนขยายขนาดขึ้นและมีทีมศิลปากรมาทำโครงเหล็กรับดินน้ำหนัก จากนั้นคุณย่าจะใช้มือทำงานปั้น แต่ง ยุคหลังท่านทำประติมากรรมขนาดใหญ่อย่าง ประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว ชื่อ "ความต่อเนื่อง” ที่ดอยตุง ท่านทำงานหนักมาก มีช่วงหนึ่งคุณย่านิ้วหัก ปั้นดินไม่ได้ก็ทำงานเชื่อมโลหะ เช้าถึงเที่ยงท่านจะปั้น บ่ายหรือเย็นจะวาดภาพ ศิลปะเป็นสิ่งที่ท่านรักและมีความสุขมากที่สุด " มรกต กล่าว และว่าทายาทมีแนวคิดจะจัดแสดงผลงานของมีเซียม ยิบอินซอย อย่างแน่นอน ฝากให้ติดตามกัน 

มีเซียม ยิบอินซอย
“ศิลปินชั้นเยี่ยม” คนแรกของเมืองไทย

มีเซียม ยิบอินซอย (พ.ศ. 2449 - 2531) นักสะสมงานศิลปะที่ผันตัวมาเป็นศิลปินมากความสามารถ ทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม แม้จะเริ่มต้นเรียนและทำงานด้านศิลปะเมื่อมีอายุได้ 42 ปีแล้ว แต่เธอก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับแวดวงศิลปะในประเทศไทยสมัยนั้น ด้วยการคว้ารางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2492 – 2494) จากผลงานภาพทิวทัศน์แบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” คนแรกของเมืองไทย นอกจากนี้ เธอยังได้สร้างสรรค์งานประติมากรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจในท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประติมากรรมรูปเด็กและผู้หญิงนั้น ได้สอดแทรกท่วงทำนองแห่งดนตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ศิลปินชื่นชอบไว้ด้วย



มีเซียมเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของวงการศิลปะไทย ด้วยการสะสมผลงานที่มีคุณค่ายิ่งในยุคที่การซื้อขายผลงานศิลปะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในสังคม ภายหลังทายาทได้ให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ยืมผลงานของมีเซียม และผลงานที่ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ บางส่วน เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการถาวร เรื่องพัฒนาการทางด้านทัศนศิลป์ของไทย ซึ่งผลงานบางส่วนจะร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการ “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ระหว่างวันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป




 "พักผ่อน" ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่นของมีเซียม ยิบอินซอย 









      นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส  “ 5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” เต็มอิ่มไปด้วยชีวิตและงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินสตรีผู้ผงาดในหน้าประวัติศาสตร์งานศิลปกรรมของไทย กำหนดจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ -30 มิถุนายน 2562 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ปิดทุกวันจันทร์-อังคาร






หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล
กรรมการสตรีที่ร่วมในคณะกรรมการตัดสินผลงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งแรก

หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2440 ทรงเป็นราชนิกุลที่มีความสนพระทัยในงานจิตรกรรมสมัยใหม่แบบตะวันตก ทรงเขียนภาพหุ่นนิ่ง และภาพทิวทัศน์ที่มีคุณค่าจำนวนหลายองค์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพรสวรรค์และพระปรีชาสามารถในงานอดิเรกที่ทรงรักได้เป็นอย่างดี

ด้วยสถานภาพทางสังคม ทำให้พระองค์ทรงมีครูทางด้านศิลปะเป็นสถาปนิกและจิตรกรในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านทัศนศิลป์ให้แก่พระองค์ และทรงมีปราชญ์คนสำคัญของยุคให้คำแนะนำ รวมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องศิลปะอยู่เสมอ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

คงจะไม่เกินความเป็นจริงนัก หากจะกล่าวว่า หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ทรงเป็นสตรีไทยคนแรกๆ ที่ริเริ่มการสร้างสรรค์งานศิลปะตามขนบแบบตะวันตกในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังทรงเป็นหนึ่งในสตรีเพียงสองคนที่เป็นกรรมการตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2492)



หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2528 รวมพระชันษา 88 ปี ภายหลังพระญาติได้มอบภาพเขียนของท่านหญิงให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อจัดเก็บและจัดแสดงตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางด้านศิลปะ ซึ่งผลงานบางส่วนจะร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการ “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ระหว่างวันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2562 เวลา 17.00 น. กรมศิลปากร โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้จัดพิธีเปิดนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี 2562 เรื่อง “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” โดยได้รับเกียรติจาก นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีฯ กล่าวเปิดนิทรรศการ พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้แก่ศิลปิน ทายาทศิลปิน และผู้ให้ยืมผลงาน






Thank you :Thai Post 


National Gallery 

No comments:

Post a Comment

Temp song