Sunday, June 30, 2019

5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย






The National Gallery of Thailand, a subdivision of Fine Arts Department, Ministry of Culture, annually organize honorable art exhibition dedicated to senior artists, by our intention to bring out excellent artworks which created by notable senior artists to the eyes of public, selected artists on this exhibition whose works have been considered as high standard art pieces, and of course they are recognized by public as those who made significant contributions to visual Thai arts.

As we have seen the important role of women artists which they have contributed a lot to our country’s visual arts. On this year we decide to run an exhibition dedicated to them entitled “5 women artists & their roles on creating visual Thai arts”, by loaning valuable artworks from senior artists themselves, their heirs, including collectors, to join in this exhibition.





อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เข้าเยี่ยมชมงาน






Sulak Sivaraksa signed the guestbook







ศิลปิน หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล












🌸5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย🌸

ศิลปินสตรี 5 ท่าน ได้แก่
หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล 
คุณมีเซียม ยิบอินซอย 
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร 
อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ 
คุณไข่มุกด์ ชูโต

วันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 
เวลา 9.00 -16.00 น. 
ณ อาคารนิทรรศการ 6 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 
หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร



#5ศิลปินสตรีกับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย
#ครูศิลปะสำรวจงานศิลป์
#ชีวิตครูศิลปะที่รักเธอ❤️






































งานเสวนาในนิทรรศการ 
🌸5 ศิลปินสตรีกับบทบาทแห่งการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย🌸

🙏❤️อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์❤️🙏
ศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2559 
1 ใน 5 ของศิลปินสตรีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง

#ชีวิตครูศิลปะสำรวจงานศิลป์
#5ศิลปินสตรีกับบทบาทแห่งการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย

Symposium in the exhibition.

🌸 5 female artists with the role of creation. Cuddle Art of Thailand.






อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์
ศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปี 2559
กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง



ศิลปินสตรีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะในไทย กลับมากระตุ้นให้คนไทยเข้าใจบทบาทของศิลปินหญิงที่มีต่อการพัฒนาแวดวงทัศนศิลป์ไทยอีกครั้ง ในรูปแบบของผลงานศิลปะอันสวยงามทรงคุณค่า เพื่อเชิดชูเกียรติผ่านนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี 2562 “ 5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



      นิทรรศการพิเศษชุดนี้ กรมศิลปากรได้คัดเลือกศิลปินสตรีอาวุโส จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล, คุณมีเซียม ยิบอินซอย, หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร, อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ และคุณไข่มุกด์ ชูโต นำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกัน แม้ว่าขณะนี้อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ เป็นเพียงท่านเดียวที่ยังสร้างงานศิลป์บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเอง ขณะที่ศิลปินอาวุโสท่านอื่นๆ ล่วงลับไปแล้ว แต่ได้ฝากผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะแสดงให้เห็นถึงตัวตน ตลอดจนบทบาทของศิลปินที่เคยโลดแล่นอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์งานทัศนศิลป์ไทย ชื่อของ 5 ศิลปินสตรีอยู่ความทรงจำของผู้รักงานศิลป์สมัยใหม่






ชื่มชมงานศิลปะแต่ละยุคของลาวัณย์ อุปอินทร์






      ศิลปินสตรีอาวุโส กล่าวด้วยว่า แม้ปัจจุบันมีศิลปินหญิงเข้าสู่ในวงการศิลปะมากขึ้น แต่ยังไม่มีบทบาทโดดเด่น และส่วนหนึ่งยังมีมุมมองว่าศิลปินชายเก่งกว่า แต่ไม่อยากให้ย่อท้อ ต้องต่อสู้ต่อไป ทำให้คนยอมรับว่าความสามารถเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ตนวางแผนเดือนมกราคม ปี 2563 จะจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งสุดท้ายในโอกาสอายุครบ 84 ปี โดยจะมีผลงานตั้งแต่สมัยเรียนศิลปะ และผลงานแต่ละยุคสมัย รวมถึงผลงานใหม่ด้วย   




หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
ราชนิกุลผู้นำเสนอมุมมองอันแปลกใหม่ในภาพเขียนตามแนวทางศิลปะเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก 

หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร (พ.ศ. 2474 – 2556) พระธิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เป็นราชนิกุลที่มีความสามารถในศาสตร์หลายแขนง ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในยุโรป โดยเริ่มต้นจากการเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาทรงเรียนรู้วิธีการเขียนภาพด้วยพระองค์เอง โดยทรงศึกษาจากผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง และทรงเข้าร่วมกลุ่มศิลปินในประเทศฝรั่งเศสเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ

ภาพเขียนของพระองค์มีรูปแบบโดดเด่นเฉพาะตน เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางความคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบสมัยใหม่โดยตรงจากยุโรป ภาพเขียนของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ แสดงอารมณ์ความรู้สึก มีรูปแบบเหนือจินตนาการ และสะท้อนปรัชญาชีวิต ตามแนวทางของศิลปะแบบเซอร์เรียลลิสต์ – แฟนตาสติก (Surrealism – Fantastic Art)

ภายหลังจากหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร สิ้นชีพิตักษัย พระญาติและพระสหายผู้ใกล้ชิด ได้ดำเนินการตามพระปณิธานในการก่อตั้ง มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย ในโอกาสนี้ ทางมูลนิธิฯ ได้ให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ยืมผลงานบางส่วนของท่านหญิงมาจัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย”





หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้มีบทบาทสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย

สำหรับทีมภัณฑารักษ์นิทรรศการ ประกอบด้วย ปัทมา ก่อทอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ, รัฐพงศ์ เกตุรวม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และธิติพงศ์ เสริฐวาสนาธัญญา นักวิชาการวัฒนธรรม โดยได้รับความร่วมมือจากศิลปินและทายาท ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดสรรและให้ยืมงานศิลปะมาแสดง ถือเป็นโอกาสที่หาได้ยากมาก ได้เห็นงานศิลปะของแท้ด้วยตา ซึ่งศิลปินและทายาทเก็บรักษาไว้อย่างดี พิธีเปิดนิทรรศการมี คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, อรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร และอาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ และทายาทศิลปินทั้ง 5 ท่าน มาร่วมงาน




ชื่อผลงาน: La menace
ศิลปิน: หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด: 100 × 100 ซม.
ปีที่สร้างสรรค์: พ.ศ. 2537





คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน ร่วมงานเปิดนิทรรศการ 5 ศิลปินสตรีฯ

อาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ วัย 83 ปี กล่าวว่า นิทรรศการนี้เป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะของไทย ได้มารับรู้ประวัติและเห็นผลงานของศิลปินหญิงแต่ละท่าน แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงก็มีความสามารถ ไม่ได้เก่งเฉพาะศิลปินชาย อย่าง ผู้หญิงหม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงงานด้านจิตรกรรม โดยเฉพาะภาพหุ่นนิ่งสวยมาก สะท้อนพระปรีชาสามารถ ภาพของท่านจะสีหม่นหน่อยด้วยทรงมีพระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก มีเซียม ยิบอินซอย ได้ไปพิพิธภัณฑ์เห็นผลงานของศิลปินในยุโรปด้วยตนเอง ทำให้มีความคิดที่ต้องการทำงานศิลปะจากพื้นฐานเดิมของตนเองที่มี แล้วไปเรียนศิลปะกับโมเนต์ ซาโตมิ ทูตวัฒนธรรมญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นจิตรกรจบจากสถาบันศิลปะในฝรั่งเศส ชอบเขียนภาพ ครั้งแรกที่มีเซียมส่งภาพทิวทัศน์ต้นไม้ริมทางเข้าประกวดรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ก็ได้รางวัลเหรียญทอง จากนั้นก็ได้รางวัลศิลปินชั้นเยี่ยม ก่อนจะหันมาทำงานประติมากรรม เรียนกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี งานก็เด่นมาก ส่วนหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ผลงานสวยงามมาก สไตล์ศิลปะตะวันตกเลย

















      “ สมัยเรียนศิลปะก็ต้องมีความพยายามมากกว่าผู้ชาย มีคำถามมากมาย ตอนแรกตั้งใจเรียนปั้น แต่ด้วยปัญหาสุขภาพเป็นโรคหอบหืดก็เปลี่ยนมาเรียนจิตรกรรม จนจบเป็นศิลปะบัณฑิตหญิงคนแรก  เมื่อทำงานศิลปะแรกๆ ก็มีคำถามต่อผลงาน คนไม่เชื่อว่าเราทำเอง แต่ก็ได้พิสูจน์และทำงานจิตรกรรมต่อเนื่องกว่า 60 ปี และที่ภาคภูมิใจที่สุด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ถวายงานเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ส่วนพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์" อาจารย์ลาวัลย์ กล่าว




ไข่มุกด์ ชูโต 
ประติมากรหญิงคนแรกของเมืองไทย

คุณไข่มุกด์ ชูโต (พ.ศ. 2481 – 2539) เริ่มต้นการเป็นประติมากรหญิง ด้วยการสอบเข้าคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เรียนรู้วิธีการทำงานศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก (Academic Art) จากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีในยุคที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เริ่มต้นวางรากฐานการสร้างสรรค์งานประติมากรรมตามหลักวิชาการแบบตะวันตกในประเทศไทย เป็นเรื่องยากที่ผู้หญิงจะเลือกเรียนทางด้านประติมากรรม และยึดอาชีพเป็นประติมากร แต่ไข่มุกด์สามารถทำสำเร็จ ด้วยการเป็นศิลปบัณฑิตหญิง ด้านประติมากรรม คนแรกของเมืองไทย 

คุณไข่มุกด์เริ่มสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองจากการรับงานปั้นงานเขียนอิสระ จนกระทั่ง นายชูพาสน์ ชูโต ผู้เป็นญาติและรับราชการอยู่ในสำนักพระราชวัง ได้พาเข้าถวายตัวต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อปฏิบัติงานด้านประติมากรรมถวายราชสำนัก คุณไข่มุกด์มีผลงานสำคัญปรากฏให้เห็นมากมาย โดยเฉพาะงานออกแบบและปั้นหล่อ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระราชาอนุสาวรีย์ พระบรมรูป และพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานในสถานที่สำคัญต่างๆ ของประเทศ
















มรกต ยิบอินซอย ทายาทมีเซียม ยิบอินซอย บอกเล่าประติมากรรมถึง 'เต้นรำ'  






      มรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร YIP IN TSOI ทายาทรุ่นหลาน มีเซียม ยิบอินซอย กล่าวว่า ได้รับการประสานยืมงานศิลปะของคุณย่า มีเซียม ยิบอินซอย มาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษครั้งนี้ ปกติประติมากรรมของคุณย่าจะติดตั้งในสวนศิลป์มีเซียม อ.สามพราน จ.นครปฐม และเปิดให้คนเข้าชมตามเจตนารมณ์คุณย่า ก่อนจะปิดลงเมื่อปี 2558 เพราะผลงาน Coy Girl ถูกโจรกรรมจนบัดนี้ยังไม่ได้กลับคืน เป็นสมบัติชาติที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียว ปัจจุบันประติมากรรมและภาพวาดของคุณย่าเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย สำหรับนิทรรศการนี้อยากเชิญชวนมาชมผลงานด้วยตา โดยไม่ต้องเข้าดูภาพในโลกอินเทอร์เน็ต ศิลปินทั้ง 5 มีความต่างกันในวิถีการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ 



      “ คุณย่าเริ่มทำงานศิลปะขณะที่มีอายุกว่า 40 ปี เรียนศิลปะกับโมเนต์ ซาโตมิ และอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ทราบว่า ท่านพากเพียร ตั้งใจเรียนมาก คุณย่าพูดเสมอว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” หลานๆ เติบโตมาได้เห็นชีวิตและการทำงานของคุณย่า อย่างประติมากรรมเด็ก “กระโดดเชือก” เรากระโดดเชือกเป็นอาทิตย์ ให้ท่านดูความเคลื่อนไหวด้วยจิตใจ ท่านจะปั้นด้วยดินน้ำมันขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ก่อนขยายขนาดขึ้นและมีทีมศิลปากรมาทำโครงเหล็กรับดินน้ำหนัก จากนั้นคุณย่าจะใช้มือทำงานปั้น แต่ง ยุคหลังท่านทำประติมากรรมขนาดใหญ่อย่าง ประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว ชื่อ "ความต่อเนื่อง” ที่ดอยตุง ท่านทำงานหนักมาก มีช่วงหนึ่งคุณย่านิ้วหัก ปั้นดินไม่ได้ก็ทำงานเชื่อมโลหะ เช้าถึงเที่ยงท่านจะปั้น บ่ายหรือเย็นจะวาดภาพ ศิลปะเป็นสิ่งที่ท่านรักและมีความสุขมากที่สุด " มรกต กล่าว และว่าทายาทมีแนวคิดจะจัดแสดงผลงานของมีเซียม ยิบอินซอย อย่างแน่นอน ฝากให้ติดตามกัน 

มีเซียม ยิบอินซอย
“ศิลปินชั้นเยี่ยม” คนแรกของเมืองไทย

มีเซียม ยิบอินซอย (พ.ศ. 2449 - 2531) นักสะสมงานศิลปะที่ผันตัวมาเป็นศิลปินมากความสามารถ ทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม แม้จะเริ่มต้นเรียนและทำงานด้านศิลปะเมื่อมีอายุได้ 42 ปีแล้ว แต่เธอก็ได้สร้างความประหลาดใจให้กับแวดวงศิลปะในประเทศไทยสมัยนั้น ด้วยการคว้ารางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติถึง 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2492 – 2494) จากผลงานภาพทิวทัศน์แบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” คนแรกของเมืองไทย นอกจากนี้ เธอยังได้สร้างสรรค์งานประติมากรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจในท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประติมากรรมรูปเด็กและผู้หญิงนั้น ได้สอดแทรกท่วงทำนองแห่งดนตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ศิลปินชื่นชอบไว้ด้วย



มีเซียมเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของวงการศิลปะไทย ด้วยการสะสมผลงานที่มีคุณค่ายิ่งในยุคที่การซื้อขายผลงานศิลปะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในสังคม ภายหลังทายาทได้ให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ยืมผลงานของมีเซียม และผลงานที่ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ บางส่วน เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการถาวร เรื่องพัฒนาการทางด้านทัศนศิลป์ของไทย ซึ่งผลงานบางส่วนจะร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการ “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ระหว่างวันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป




 "พักผ่อน" ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่นของมีเซียม ยิบอินซอย 









      นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส  “ 5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” เต็มอิ่มไปด้วยชีวิตและงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินสตรีผู้ผงาดในหน้าประวัติศาสตร์งานศิลปกรรมของไทย กำหนดจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ -30 มิถุนายน 2562 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ปิดทุกวันจันทร์-อังคาร






หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล
กรรมการสตรีที่ร่วมในคณะกรรมการตัดสินผลงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งแรก

หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2440 ทรงเป็นราชนิกุลที่มีความสนพระทัยในงานจิตรกรรมสมัยใหม่แบบตะวันตก ทรงเขียนภาพหุ่นนิ่ง และภาพทิวทัศน์ที่มีคุณค่าจำนวนหลายองค์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพรสวรรค์และพระปรีชาสามารถในงานอดิเรกที่ทรงรักได้เป็นอย่างดี

ด้วยสถานภาพทางสังคม ทำให้พระองค์ทรงมีครูทางด้านศิลปะเป็นสถาปนิกและจิตรกรในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านทัศนศิลป์ให้แก่พระองค์ และทรงมีปราชญ์คนสำคัญของยุคให้คำแนะนำ รวมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องศิลปะอยู่เสมอ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

คงจะไม่เกินความเป็นจริงนัก หากจะกล่าวว่า หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ทรงเป็นสตรีไทยคนแรกๆ ที่ริเริ่มการสร้างสรรค์งานศิลปะตามขนบแบบตะวันตกในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังทรงเป็นหนึ่งในสตรีเพียงสองคนที่เป็นกรรมการตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2492)



หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2528 รวมพระชันษา 88 ปี ภายหลังพระญาติได้มอบภาพเขียนของท่านหญิงให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อจัดเก็บและจัดแสดงตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางด้านศิลปะ ซึ่งผลงานบางส่วนจะร่วมแสดงอยู่ในนิทรรศการ “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” ระหว่างวันที่ 6 – 30 มิถุนายน 2562 ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป



วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2562 เวลา 17.00 น. กรมศิลปากร โดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้จัดพิธีเปิดนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี 2562 เรื่อง “5 ศิลปินสตรี กับบทบาทการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของไทย” โดยได้รับเกียรติจาก นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีฯ กล่าวเปิดนิทรรศการ พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้แก่ศิลปิน ทายาทศิลปิน และผู้ให้ยืมผลงาน






Thank you :Thai Post 


National Gallery 

Thursday, June 20, 2019

World Oceans Day :20 June 2019 Saiburi Pattani. THAILAND






Lookman Maesa

Janine Yasovant MPA. 

For almost 30 years, there has been an annual famous fishing event held in Saiburi District, Pattani Province. This event is regarded as a very important traditional ceremony of which people there are very proud. In the past, Saiburi was the first-class city. Both sides of the Saiburi River were prosperous communities and the west of the city was next to the sea. Many of the Thai kings used to travel along this river to visit their people. Notably, there are some old photos King Chulalongkorn (Rama V) of Thailand. These photos recorded important events when the king visited the court of justice, city hall and the palaces of city lords in Pattani Province. Mansions of the governors and government buildings were constructed in European style. There was also the construction, beautification and maintenance of some government buildings, Thai temples, mosques and shrines. The present king Bhumibholadulyadej (Rama IX) visited the South and resided at Taksin Ratchaniwet palace. He and a group of civil officials traveled by Kolae boats along Saiburi River to visit villagers there many times in the past. Those villagers were mainly Thai Buddhist, Chinese-Thai, and Thai Muslim. The king also had a lifetime Thai Muslim friend called Wadeng Putae, 96 years old, who died in 2012.



At the present, there are many good things happening in communities around the Saiburi river basin including a group of young artists who join and work together to develop and decorate the area. This opens more opportunity for residents in the communities there to show their talents and practices in art, agricultural and industrial sectors. For example, in the art sector we can see many beautiful handicrafts such as paintings and sculptures. Moving on to the agricultural sector, the growing of rice, garden plants and farm crops provide better yields and quality. Lastly, at industrial sector, the production of coconut oil, shipwright, bird cage and goldsmith are important industries in the area. Moreover, the fishery businesses require handmade fishing boats to catch fish and seafood. For many decades, the famous products from the female groups are textiles, fish crisp rice and boodoo sauce used in southern food cooking.





The fishing tournament event was held at Taluban Sub-district where Wasukri basin was located. I had a great time talking with an electrical engineer, Lookman Masea, who called himself “Nai Chang Faifa (electrician)”. I found that he answered all my interview questions about the fishing tournament in Saiburi. Normally, the Kolae boats of fishermen are used. Such vessels are regarded as the most beautiful fishing boats in the Thai gulf. The competition lasts only three days in the clear sky and the dates are determined mainly by the moon.




จานีน ยโสวันต์

เป็นเวลาเกือบ 30 ปีแล้วที่มีการแข่งขันตกปลาประจำปีที่มีชื่อเสียงรายการหนึ่ง ที่จัดขึ้นที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นพิธีการดั้งเดิมที่มี ความสำคัญซึ่งผู้คนที่นั่นรู้สึกภาคภูมิใจมากในอดีตสายบุรีเคยเป็นหัวเมืองระดับหนึ่ง ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำสายบุรีคือชุมชนที่มี ความอุดมสมบูรณ์และทางตะวันตกของเมืองอยู่ติดกับทะเล พระมหากษัตริย์ไทย หลายพระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินไปตามแม่น้ำสายนี้เพื่อทรงเยี่ยมประชาชน ครั้งสำคัญคือมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งบันทึกเหตุการณ์สำคัญตอนที่พระองค์เสด็จไปเยี่ยมศาลยุติธรรม ศาลากลางประจำเมืองและวังของเจ้าเมืองในจังหวัดปัตตานี คฤหาสน์ของผู้ว่า ราชการและอาคารต่างๆของรัฐมีการปลูกสร้างตามแบบยุโรป มีการก่อสร้าง ประดับตกแต่ง และการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ราชการบางแห่ง ตลอดจนวัดไทย มัสยิด และตลอดจนถึงศาลเจ้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนิน เยือนภาคใต้และทรงประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระองค์เสด็จพระราช ดำเนินพร้อมด้วยกลุ่มข้าราชการโดยเรือกอและ ล่องไปตามแม่น้ำสายบุรีเพื่อเสด็จ เยี่ยมประชาชนหลายครั้งในอดีต ชาวบ้านในแถบนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธ ชาว ไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยมุสลิม พระองค์ทรงมีพระสหายชาวไทยมุสลิมที่ชื่อว่า นายวาเด็ง ปูเต๊ะ อายุ 96 ปี ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้วในปีพ.ศ. 2555 ในปัจจุบันมีสิ่งดีๆ หลายอย่างเกิดขึ้นในชุมชนรอบฝั่งแม่น้ำสายบุรีรวมทั้งกลุ่ม ศิลปินที่มาเข้าร่วมและทำงานด้วยกันเพื่อพัฒนาและตกแต่งพื้นที่ เปิดโอกาส ให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนให้แสดงพรสวรรค์และการฝึกฝนในด้านศิลปะ การเกษตร และอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ในส่วนที่เป็นด้านศิลปะเราจะเห็นงานหัตถกรรมที่มี ความสวยงามเช่นภาพเขียนและงานประติมากรรม ด้านเกษตรกรรมคือการปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ให้มีผลผลิตและคุณภาพดีกว่าเดิม ท้ายสุดในด้านอุตสาหกรรม การ ผลิตน้ำมันมะพร้าว ต่อเรือ ทำกรงนก และการทำทอง เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญใน พื้นที่ นอกจากนี้ธุรกิจการประมงใช้เรือหาปลาที่ต่อกันเองเพื่อจับปลาและสัตว์น้ำที่ เป็นอาหารทะเล เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงจากกลุ่มสตรีคือ การทอผ้า ทำข้าวเกรียบปลาและน้ำบูดูที่ใช้สำหรับทำอาหารภาคใต้



การแข่งขันตกปลาถูกจัดขึ้นที่ตำบลตาลุบันซึ่งอยู่บริเวณหาดวาสุกรี
ดิฉันมีช่วงเวลาที่ดีในการพูดคุยกับวิศวกรไฟฟ้าผู้หนึ่งคือคุณลุกกมัน มะแซ ที่เรียก ตัวเองว่าเป็นนายช่างไฟฟ้า ดิฉันพบว่าเขาตอบคำถามสัมภาษณ์ทุกข้อเกี่ยวกับการ ตกปลาที่สายบุรี โดยปกติที่ผ่านมาแล้วนักตกปลาจะใช้เรือกอและ เรือชนิดนี้ถือว่า เป็นเรือที่สวยงามที่สุดในอ่าวไทย การแข่งขันใช้เวลาทั้งหมดสามวันในวันที่ฟ้า ปลอดโปร่ง วันที่แข่งขันจะถูกกำหนดโดยใช้พระจันทร์เป็นหลัก














































JY: Tell us about the tournament.  

LM: This fishing tournament in Taluban Sub-district, Saiburi District is very important and a famous event in Pattani Province nowadays. It also helps fishermen to earn some money. In my view, I would like to see more public relations and advertising . The venue at Wasukri basin is an excellent source of la arge number of fish. If possible, I would like to add a rule that each fish caught must be large and heavier than 10 kilograms. Any small fish must be released back to the sea. Fishing is an interesting sport for the competition and anyone interested in fishing can learn and live with it every day. Due to the abundance of local fish in the area, in the sea there is an island called Koh Laopi which has significant number of fish.

จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการแข่งขัน

ลุกกมัน: การแข่งขันตกปลาที่ตำบลตาลุบัน อำเภอสายบุรี เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ และมีชื่อเสียงเหตุการณ์หนึ่งในจังหวัดปัตตานีปัจจุบันนี้ เป็นการช่วยเหลือนักตกปลาให้มีรายได้ ในความคิดของผม ผมอยากจะเห็นการประชาสัมพันธ์และการ โฆษณาที่ดีกว่านี้ ถ้าเป็นไปได้ผม อยากจะเพิ่มกฎเข้าไปอีกข้อหนึ่งโดยให้ปลาที่จับได้แต่ละตัวต้องมีขนาดใหญ่และ หนักมากกว่า 10 กิโลกรัม ปลาตัวเล็กให้ปล่อยกลับคืนสู่ทะเล การตกปลาเป็นกีฬา ที่น่าสนใจสำหรับการแข่งขันและใครก็ตามที่สนใจในการตกปลาก็สามารถที่จะ เรียนรู้และอยู่กับการตกปลาได้ทุกวัน อันเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของปลา ท้องถิ่นในพื้นที่ ในทะเลมีเกาะอยู่แห่งหนึ่งเรียกว่าเกาะเล่าปี่ซึ่งมีปลาอยู่มาก พอสมควร วันแข่งขันทั้งสามวันโดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม อาจจะเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในปัจจุบันและความปลอดภัยจากพายุฝน



เป็นเวลาหลายปีที่พวกเราพยายามจับปลาแบบอนุรักษ์แต่พวกเราอยากให้กรม ประมงช่วยอนุรักษ์สายพันธ์ปลาทะเลหายากเช่นปลากุเลาซึ่งมีราคาแพงมาก ผม ได้ยินมาว่ามีโครงการของกระทรวงยุติธรรมในปีพ.ศ. 2557 ที่ปล่อยกุ้งและปลา กระพงขาวกลับสู่ทะเล มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการประมงชายฝั่งในจังหวัดภูเก็ตที่ ก่อสร้างอาคารสถานที่เพื่อดูแลอนุบาลพันธ์ปลาโดยใช้ระบบสับเปลี่ยนน้ำ ผมหวัง เอาไว้ว่าโครงการแบบนี้จะมาจัดตั้งที่อำเภอสายบุรีเพื่อดูแลปลารอบๆบริเวณ ชายฝั่งสายบุรี เท่าที่ผมทราบมามีศูนย์วิจัยและพัฒนาบริเวณพื้นที่อ่าวไทย ตอนล่างสำหรับจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ผมตระหนักว่าการสนับสนุนให้ มีการแข่งขันจับปลาเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับกรมประมง แต่อย่างไรก็ตาม ชาวประมงในพื้นที่นี้ไม่ได้นั่งอยู่เฉยโดยไม่ทำอะไรเลย พวกเขาพยายามจัดตั้ง กลุ่มหรือหน่วยงานเพื่อปกป้องและรักษาชีวิตสัตว์ทะเลรอบๆ พื้นที่ชายฝั่ง ปัญหา หนึ่งคือหลักปฎิบัติในการจับปลาโดยใช้แหตาข่ายที่มีตาขนาดเล็กซึ่งสามารถจับ ปลาขนาดเล็กได้ในปริมาณมากเกินไปเป็นเพราะความต้องการในปริมาณที่สูงจาก โรงงานอุตสาหกรรมปลาป่น การจับปลามากเกินไปเป็นเหตุให้เกิดการขาดแคลน ปลาในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาทุกคนในชุมชนควรเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานี้และ 
จัดตั้งการรณรงค์ให้ความรู้กับผู้อื่น นอกเหนือจากนี้ควรจะมีการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามจับปลาในฤดูที่ปลาวางไข่ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่สงบจากสถานการณ์ 








The three days of competition are usually between April and May. This may depend on the current weather and the safety from the thunderstorms. For many years we have tried to fish conservatively, but we would like the department of fishery to help preserve rare species of sea fish such as (Kuela) threadfin fish, which is very expensive. I have heard that there was a project of the Ministry of Justice in 2014 to release shrimps and barramundi fish back to the sea. There is a research and development center of coastal fishery in Phuket Province that constructed a facility to nurse young fish with a water rotation system. I just hope this kind of project would be set up at Saiburi District to better take care of fish around the coastal area of Saiburi. As far as I know, there is already a research and development center for the lower Thai gulf area for Songkla and nearby provinces. I realize that the promotion of a fishing event should be a serious concern for the department of fishery. However, many fishermen in this area do not sit idly and do nothing. They try to establish a group or initiative to protect and preserve the marine life around the coastal area. One problem is the fishery practice with small fishnets that catch too many young fish because of high demand from the fish-meal industry. Overfishing causes a shortage of fish in the long run. To cope with this problem, everyone in the community should learn about this problem and set a campaign to educate others. Furthermore, a proper law should be enforced to forbid fishing during the season that fish lay their eggs. There are also some problems about unrest form political situation. It is hoped that good administration could bring peace back as soon as possible.

JY: What about your personal life, career and the reason why you participate in this event?

LM: My current profession is electrical engineer. I received a Bachelor’s degree of electrical engineering at Kasembundit University in Bangkok. In this event, I and my team are responsible for the installation of electrical equipment and lights from the venue on nearby roads, electric posts, bridges and billboards. In the sea, there will be a large floating electric banner “Saiburi Fishing Game Tournament” written in Thai language.

My team of electricians and I will install the cable wires under the sea to control thousands of LEDs that I used to design many years ago. The installation will take about two weeks to complete. Apart from electrical system design and fishing database for this fishing event, I have been a counselor of the municipality from the 2nd to the upcoming 29th Fishing Game Tournament. This is the thing I am so proud of and determined for 30 years —that I joined this fishing competition in Saiburi.


จานีน: กรุณาบอกเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว อาชีพการงานและเหตุผลว่าทำไมคุณ ถึงเข้าร่วมในงานครั้งนี้

ลุกกมัน: อาชีพในปัจจุบันของผมคือวิศวกรไฟฟ้า ผมเรียนจบได้รับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยเกษมบัญฑิต กรุงเทพมหานคร ในงานครั้งนี้ ผมและทีมงานรับผิดชอบในเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงไฟตรงบริเวณที่ จัดงาน ถนน เสาไฟฟ้า สะพาน และป้ายข้างถนน ในทะเลจะมีป้ายไฟฟ้าขนาด ใหญ่ลอยน้ำอยู่ เขียนเป็นภาษาไทยว่า “การแข่งขันตกปลาสายบุรี” ผมและ 
ทีมงานที่เป็นช่างไฟฟ้าจะติดตั้งสายเคเบิ้ลใต้น้ำเพื่อควบคุมหลอดไฟ LED จำนวน หลายพันหลอดที่ผมเคยออกแบบไว้เมื่อหลายปีก่อน การติดตั้งจะใช้เวลาประมาณ สองอาทิตย์จึงเสร็จสิ้น นอกเหนือจากการออกแบบระบบไฟฟ้าและฐานข้อมูลการตกปลาสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ ผมเป็นที่ปรึกษาของเทศบาลตั้งแต่การแข่งขันตก ปลาครั้งที่ 2 จนถึงครั้งที่ 30  นี่เป็นสิ่งที่ผมภาคภูมิใจและมุ่งมั่น เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่ผมเข้าร่วมการแข่งขันตกปลาที่สายบุรี









                                                              หาด วาสุกรี














JY: Do you have any interesting story about this fishing tournament to share with us?        

LM: In contrast to typical electrical engineer, I frequently climb up electric posts like electricians because I am concerned about the safety of less experienced electricians and I want to act as a good model for them. Apart from usual jobs and this event, I design and control electricals system for celebrations of king and queen birthdays and national holidays. To install some LEDs in very high places requires appropriate machinery like a movable crane. Underwater electrical system during the competition is the responsibility of me and my team who install and disassemble equipment. For many years there has been no serious trouble that we cannot manage.

I can remember my impression of fishing. This story happened when I was around seven years old. One night I awoke and found that I was in the fishing boat with my father. He taught me about fishing, encouraged me to realize the value of the sea that he worked with for a living and learn about marine life in the Thai gulf. After that, I followed and accompanied him to go fishing in the sea or the fishing event at Wasukri basin, as frequently as possible. In my life, I assure myself that I will never leave the sea. Moreover, Mr.Atsawin Haweeket, as known as Pa Daeng, came to our house and rented my father’s fishing boat to Koh Laopi which was far from Wasukri basin, about 12 miles. Mr.Atsawin was a founder for Saiburi Fishing Game Tournament. My father and I participated in his competition and helped him in his work. This helped me understand perspectives and visions in working and we have been working with him for 28 years. My intention is for conservative fishing as we should help each other and society to make our dream come true. It is to help Saiburi become vacation destination for people who love fishing sports and to strengthen business of Saiburi District to the glorious level like it was in the long past. Coming to Saiburi District is really simple: train, bus and airplane. Only 25 km from Narathiwat Airport. Every organization should cooperate and we have to make sure that our venue can support foreign fishermen. I hope this might be a part of national development plan with simplicity and harmony among people.                 




จานีน: คุณมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันตกปลาครั้งนี้มาแบ่งปันให้พวก เราได้ฟังกันหรือไม่


ลุกกมัน: สิ่งที่ต่างไปจากวิศวกรไฟฟ้าทั่วไปคือผมมักจะปีนเสาไฟฟ้าเหมือนกับ ช่างไฟฟ้าอื่นๆเพราะผมเป็นห่วงความปลอดภัยของช่างไฟฟ้าที่ยังมีประสบการณ์ น้อยและผมต้องการทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเขา นอกเหนือไปจากงานที่ ทำเป็นปกติและการแข่งขันครั้งนี้ ผมได้ออกแบบและควบคุมระบบไฟฟ้าสำหรับ 
งานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวงและสมเด็จพระราชินี วันหยุดราชการ การติดตั้งหลอดไฟ LED ต้องอาศัยเครื่องจักรกลที่มีความ เหมาะสมเช่นเครนยกที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ระบบไฟฟ้าใต้น้ำในช่วงการแข่งขัน เป็นความรับผิดชอบของผมและทีมงานที่ทำหน้าที่ติดตั้งและถอดถอนอุปกรณ์ หลายปีมาแล้วที่ไม่มีปัญหาที่รุนแรงจนเราไม่สามารถจัดการได้ผมจำได้ถึงความประทับใจในการตกปลา เรื่องนี้เกิดขึ้นตอนที่ผมมีอายุประมาณ เจ็ดปี คืนหนึ่งผมตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าอยู่ในเรือหาปลากับคุณพ่อที่สอนเรื่องการตก 
ปลาให้กับผมและกระตุ้นให้ผมตระหนักถึงคุณค่าของทะเลที่คุณพ่อใช้ทำมาหากิน และเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ทะเลในอ่าวไทย หลังจากนั้นผมได้ติดตามและไปตก ปลากับคุณพ่อในทะเลหรือในการแข่งขันตกปลาที่หาดวาสุกรีอยู่บ่อยครั้งเท่าที่ เป็นไปได้ในชีวิตของผม ผมรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองว่าจะไม่ทอดทิ้งทะเล นอกเหนือจากนี้คุณ
อัศวิน หะวีเกตุ หรือที่รู้จักกันในนามป๋าแดงมาที่บ้านของเราและขอเช่าเรือของคุณ พ่อผมไปเกาะเล่าปี่ซึ่งอยู่ห่างจากหาดวาสุกรีประมาณ 12 ไมล์ คุณอัศวินเป็นผู้ ก่อตั้งการแข่งขันตกปลาสายบุรี คุณพ่อและผมเข้าร่วมในการแข่งขันและคอย ช่วยเหลือคุณอัศวินในเรื่องงาน สิ่งนี้ช่วยทำให้ผมเข้าใจในมุมมองและวิสัยทัศน์ใน 
การทำงาน พวกเราทำงานกับคุณอัศวินมาเป็นเวลา 28 ปีแล้ว ความตั้งใจของผม คือการจับปลาแบบอนุรักษ์ เพราะเราควรช่วยเหลือซึ่งกันและกันและช่วยเหลือ สังคมเพื่อให้ความฝันของพวกเราเป็นความจริง ความฝันนั้นคือช่วยให้สายบุรีเป็น เป้าหมายการพักผ่อนของผู้ที่รักกีฬาตกปลาและทำธุรกิจในอำเภอสายบุรีให้มี ความแข็งแกร่งในระดับที่เคยเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต การมาที่อำเภอสายบุรีนั้น 
ง่ายมาก ทางรถไฟ รถบัส และเครื่องบิน เพียงแค่ 25 กิโลเมตรจากสนามบิน นราธิวาส ทุกองค์กรควรร่วมมือกันและพวกเราต้องแน่ใจว่าสถานที่สามารถรับรอง นักตกปลาจากต่างประเทศได้ ผมหวังไว้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา แห่งชาติซึ่งมีความเรียบง่ายและผู้คนมีความสมัครสมานสามัคคีกัน














































































































































Temp song