Monday, February 25, 2013

2 Artists came to ChiangMai (1)







วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร  เชียงใหม่ 

เป็นวันที่โชคดีที่ดิฉันจะได้พาศิลปิน2 ท่าน ที่ได้รับทุนสร้างสรร ศิลปกรรม


                                                          อ.ศิลป์ พีระศรี เยี่ยมชมเมืองเก่า เวียงกุมกาม  อ.สารภี 
                                                                         
                                           จ. เชียงใหม่


Anurote Chanphosri 



คุณอนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี











Tippanet Yaemaneechai: Artist 



















































































Vihara LaiKum 
















วัดเจดีย์เหลียม เวียงกุมกาม อ.สารภี
คุณทิพยเนตร แย้มมณีชัย 







Anurote Chanphosri & Tippanet Yaemaneechai




















































































































































































































































































ตอนปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดิฉันพบกับศิลปินสองท่านที่ได้รับเงินทุนจากโครงการ "ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี" ทั้งคู่มาที่งานประมูลภาพเขียนที่จังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันจึงเชิญทั้งสองมาสัมภาษณ์โดยทันที

ศิลปินคนแรกคือคุณอนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรีที่ดิฉันได้เขียนบทความเรื่องผ้าห่อศพลงใน Scene4 คนที่สองคือคุณทิพเนตร์ แย้มมณีชัย อาจารย์จากคณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร

จุดนัดพบของเราอยู่ที่วัดพระสิงห์ วัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดที่มีชื่อเสียงและภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ทั้งสองคนรออยู่ที่วิหารลายคำด้านหลังพระอุโบสถ ในวันนั้นผู้คนจำนวนมากมาเยี่ยมชมวัด จากนั้นพวกเราตัดสินใจไปเยี่ยมไปเยี่ยมเมืองหลวงเก่าล้านนาเวียงกุมกาม อำเภอสารภีเพราะว่าศิลปินทั้งสองคนยังไม่เคยไปที่นั่นมาก่อนและพวกเขามีความกระตือรือร้นที่จะไปมาก การสัมภาษณ์ในวันนั้นจะเน้นที่ดิฉันและคุณทิพเนตร์ แย้มมณีชัย

จานีน: ดิฉันเขียนเรื่องเกี่ยวกับศิลปินในประเทศไทยมาหลายปีและศิลปินหลายคนเคยเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ดิฉันทราบว่าพวกคุณทั้งสองคนจบมาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยมจากโครงการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี

ทิพเนตร์: ผมแน่ใจว่าคุณทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีที่จริงแล้วในปีพ.ศ. 2476 ศิลป์ พีระศรีและคุณพระสาโรช รัชตมินมานก์ ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากร" ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งปีพ.ศ. 2476 ถึงพ.ศ. 2485 ศิลป์ พีระศรีและพระยาอนุมานราชธนได้พยายาม


อย่างเต็มในการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงปีพ.ศ.2486 ในที่สุดโรงเรียนแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร พระยาอนุมานราชธนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนที่สองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2486 ถึงพ.ศ.2492 ในขณะเดียวกัน ศิลป์ พีระศรี เป็นคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมและ
ประติมากรรมจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลงในปีพ.ศ. 2505 ในมุมมองของผมศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีเป็นชาวอิตาเลียนที่อุทิศชีวิต จิตวิญญาณ กำลังกาย และทรัพย์สินเงินทองช่วยเหลือนักศึกษาที่ทำงานกับท่าน นี่เป็นหนึ่งเหตุผลว่าทำไมนักศึกษาศิลปากร ถึงชื่นชม ให้ความเคารพนับถือ และมอบความไว้วางใจให้อย่าง
สิ้นเชิง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าท่านเป็นศิลปินที่เยี่ยมยอด เป็นครูที่อุทิศตนและเป็นผู้มีมนุษยธรรม

จานีน: ดิฉันทราบว่าคุณวิสูตร เจริญพร ภรรยาของเขาคุณเพ็ญจันทร์ เปรมวุฒิ และคุณจักรพันธ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพ.ศ. 2543 เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งสามคนเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ทิพเนตร์: ก็เหมือนกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรทุกคนครับ ผมชื่นชมและเคารพศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมาก ท่านเป็นแบบอย่างให้กับศิลปินทุกคนที่มีความปรารถนาจะสร้างงานศิลปะที่โดดเด่นและเป็นคนดีในเวลาเดียวกัน

จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับทุนที่คุณได้รับ ทำไมทุนนี้จึงสำคัญมากๆสำหรับคุณและศิลปินคนอื่นๆ

ทิพเนตร์: ผมเป็นหนึ่งในเก้าคนที่ได้รับรางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม
ศิลป์ พีระศรีครั้งที่ 9 ประจำปีพ.ศ. 2552 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา รางวัลนี้จะ
มอบให้กับศิลปินยอดเยี่ยมทุกปีและในปีพ.ศ. 2556 นี้ก็จะเป็นเวลาของทุน
สร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 13 หลายๆคนบอกว่ารางวัลนี้จะมอบ
ให้กับศิลปินที่สร้างผลงานศิลปะคุณภาพเยี่ยม ในฐานะที่เป็นนักศึกษาศิลปากร
ทุกคนรวมทั้งผมพยายามเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้รับเลือกเพราะพวกเรารักและ
เคารพศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

จานีน: คุณได้แรงบันดาลใจทำงานศิลปะอย่างไร

ทิพเนตร์: ตอนที่ผมยังเด็กผมรักการวาดภาพมากและในอีกหลายปีต่อมาผมเป็นตัวแทนโรงเรียนให้กับการแข่งขันวาดภาพ บางครั้งผมได้รางวัลแต่ก็มีหลายครั้งที่ผมไม่ชนะการแข่งขัน ในเวลานั้นผมรักการแข่งขันมากเพราะว่ามันสนุกและผมสามารถเที่ยวไปได้หลายที่ตอนมัธยมปลายโปรแกรมการเรียนของผมคือวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แต่ผมเปลี่ยนความสนใจกลับมาที่งานศิลปะซึ่งเป็นวิชาที่ผมชอบที่สุดเช่นกัน ผมตั้งใจที่จะสมัครเรียนในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแต่วันนั้นผมยังไม่แน่ใจว่าผมจะผ่านหรือไม่เนื่องจากขาดการเตรียมตัวและฝึกฝน โชคดีที่วิชาวาดเส้นไม่ยากนักเพราะแบบวาดภาพเป็นอันเดียวกับที่ผมใช้ฝึกทักษะการวาดรูปชีวิตในมหาวิทยาลัยสอนสิ่งที่มีคุณค่ามากมาย ผมศึกษาศิลปะหลายชนิด เทคนิคศิลปะต่างๆและศิลปะไทย ผมพบว่าศิลปะไทยมีคุณค่าและตีเป็นเงินไม่ได้ ซึ่งคนรุ่นก่อนถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความรู้ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

สิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับแรงบันดาลใจในการทำงานศิลปะและผมอยากให้คนไทย
ทุกคนซาบซึ้งกับศิลปะและวัฒนธรรมไทยมากกว่าความเจริญทางเทคโนโลยี

จานีน: อะไรเป็นสิ่งสำคัญในงานที่ผ่านมาของคุณ

ทิพเนตร์: งานต่างๆถูกสร้างขึ้นให้สะท้อนความคิดการแสดงวัฒนธรรมไทยในอดีตและได้ผสมผสานอย่างกลมเกลียวกับสิ่งของ วัสดุจากสินค้าเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อแสดงแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสังคมวันนี้

งานศิลปะชุดนี้ใช้เทคนิคและวิธีการที่ปรับปรุงมาจากงานก่อนหน้านั้นเช่น "การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม 2537 และชุดจินตภาพแห่งวัฒนธรรมใหม่2538 -2542"โดยเฉพาะงานชิ้นล่าสุดนั้น เทคนิค วิธีการและการจัดรูปแบบนั้นมีความประณีตและเป็นมืออาชีพมากกว่าเดิม ส่วนการเตรียมพื้นที่ทำงาน ผมพยายามใช้เทคนิคจากช่างไทยโบราณที่ใช้ดินสอพองและกาวกระถิน


จานีน: ดิฉันอยากทราบมุมมองในการทำงานศิลปะของคุณ

ทิพเนตร์: ผมได้พูดเรื่องมุมมองไว้ตรงคำถามข้อที่ผ่านมา สำหรับผลงานที่ทำเสร็จแล้ว ผมอยากให้ทุกคนเห็นหนทางใหม่ๆ และความก้าวหน้าในงานแต่ละชิ้นการปรับปรุงเช่นนี้เป็นแนวคิด เทคนิค และวิธีการที่ดีกว่าเพื่อการหามิติใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

จานีน: คุณอยากบอกอะไรกับโลกบ้าง

ทิพเนตร์: ผมอยากบอกเรื่องคุณค่าวัฒนธรรมไทยซึ่งเหมือนเป็นตัวแทนทางจิตวิญญาณในแต่ละยุคสมัย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากอดีตถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันดูแลจิตวิญญาณที่มีต่อความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเห็นอกเห็นใจกันเพื่อป้องกันการแข่งขัน ความขัดแย้ง และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนด้วยวิธีการที่ผิด ในสังคมปัจจุบันหลายคนเชื่อในคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ผมสร้างผลงานทางศิลปะ

งานศิลปะชุดถัดไปของผมยังอยู่ในช่วงการจัดสร้าง มีการค้นคว้าทางด้านเทคนิควิธีการและรูปแบบ ผมกะว่าใช้สีฝุ่นและสีน้ำมันด้วยกันเวลาสร้างผลงาน สีฝุ่นมาจากธรรมชาติและภาพเขียนกิจกรรมฝาผนังในวัดไทยส่วนใหญ่ใช้สีฝุ่นเป็นหลักอยางไรก็ตามสีน้ำมันเป็นสีสังเคราะห์ที่ทำขึ้นโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นี่เป็นการใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดสีและศิลปินชาวตะวันตกหลายคนใช้สีน้ำมันเวลาเขียนภาพ ส่วนผสมของสีทั้งสองชนิดน่าจะเข้ากันได้ดี ผมกำลังคิดอยู่ว่าแนวคิดตะวันออกพบเจอกับแนวคิดตะวันตกได้อย่างไร้รอยเชื่อมต่อเพื่อหาแรงบันดาลใจและขยายนแนวคิดจากผลงานที่ผ่านมา

No comments:

Post a Comment

Temp song