Thursday, July 27, 2017

Pichai Nirand : National Artist





























There are several praiseworthy things I would like to say about Pichai Nirand.

 The first one is his oil painting. The expressive way he uses oil colors in his paintings
 and the subtle details he instills in each painting are fascinating. The second one is his dedication to art. These days he is still working on his paintings. Although Pichai is hardworking and diligent, the collector demands to buy his paintings are still very high. Sometimes he takes more than a year to finish a single painting because he has so many paintings to take care of at the same time due to numerous pending requests. The price of his painting is also quite steep especially a large painting which costs more than 1 million Baht. He is the one who is called a gentleman artist .This reflects his generous 

manner and politeness . 








อ.พิชัย  นิรันด์ : ศิลปินแห่งชาติ











On meeting him, I asked Pichai about how he uses color in his painting. He said calmly that using color depends on his mindset to determine the outcome of the work he wishes to have. In my view, this simple advice requires comprehensive knowledge and experience in art. He told me when he was young, he was very fortunate that his friends often bought good and expensive colors from foreign countries and shared them with him. He entered Silpakorn University and was a student of an Italian Professor Silpa Bhirasri. He looked at an old photo of him and his classmates from Silpakorn University. He talked about some of his friends in the photo who he used to work with; many of them have died due to old age. He also told me about the preferred art style of his friends and what kind of art work they could do.

With high curiosity, I looked at the photo and saw Pichai, his friends and Professor Silpa. Some of his friends came from different faculties but they loved art as well. I told Pichai that his friends were good looking and they were taught art and art concepts in the European style. Then we changed our topic to talk about Professor Silpa. Pichai said that Professor Silpa was a devoted man who helped his brilliant students many of whom were poor. Pichai was one of the students who Professor Silpa had to help financially by finding scholarships and grants for tuition fees and painting equipment from third parties. Professor Silpa wanted Pichai to graduate from the university and be a great artist in the future because Professor Silpa saw his determination, creativity and rare artistic talent.














                                                         
                                                     Pichai Nirand : National Artist





                                                        A. Janine Yasovant







Pichai Nirand never stops creating art works. He stated this in many books. “I feel that working on art helps me to realize true value of my life. If I stop doing work on art, I feel that I am so withered”. At the present, Pichai’s works focus mainly on the colorful Buddha’s footprints and Buddhism philosophy. They are abstract paintings but some of them are landscape paintings and flowers. Looking at these pictures, we can see that blooming lotus, birds and fish are symbols he used in many of his works. They imply the Buddha’s teachings such as the cycle of life of human and animals as well as images of Buddha. He was the one who came up with the outstanding Buddha’s footprints. Some of the notable works are the cycle of life (painting), the eye of wisdom (2005, sculpture) and the Cetasika City [Mental state city] 2007, mixed media.)



Pichai has exhibited in many countries such as Japan, Singapore, Malaysia, Philippines, France, USA (New York) and Beijing (China) from 1963 – 2004. After graduation he was a teacher at Chang Sin College and the worked at the Fine Arts department until he received the title of Artisan Grade 8. In 1995 he left his job to become the freelance artist.



                                                       


















































มีสิ่งที่น่าชื่นชมหลายอย่างที่ดิฉันอยากจะพูดถึงศิลปินแห่งชาติท่านนี้ 


คุณพิชัย นิรันต์ อย่างแรกก็คือภาพวาดสีน้ำมันของท่าน วิธีการที่ท่านสื่อความหมายโดย ใช้สีน้ำมันในภาพวาดและรายละเอียดอันเฉียบแหลมที่ท่านค่อยๆใส่ลงไปใน แต่และภาพนั้นมีความน่าสนใจมาก อย่างที่สองคือความอุทิศตัวของท่านต่อ  งานศิลปะ ทุกวันนี้ท่านยังคงทำงานศิลปะอยู่ ถึงแม้ว่าคุณพิชัยจะทำงานหนัก และขยัน แต่ความต้องการของนักสะสมที่ต้องการซื้อหารูปของท่านยังคงสูง มาก บางครั้งท่านใช้เวลามากกว่า 1 ปี ที่จะวาดรูปภาพรูปนึงให้เสร็จเพราะว่ามี  ภาพวาดอีกหลายภาพที่ต้องวาดในเวลาเดียวกันเนื่องจากมีคำร้องขอที่ยังค้างอยู่มาก ราคาภาพเขียนของท่านค่อนข้างสูงโดยเฉพาะภาพขนาดใหญ่ ซึ่งมี ราคามากกว่าหนึ่งล้านบาท ท่านเป็นคนผู้หนึ่งที่มีผู้เรียกว่าศิลปินสุภาพบุรุษ
ซึ่งได้มาจากการที่ท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดีและสุภาพอ่อนโยน



ในวันที่พบกับคุณพิชัย ดิฉันถามท่านเกี่ยวกับวิธีการใช้สีในภาพวาด ท่านบอกว่าการใช้สีนั้นขึ้นอยู่กับความคิดจิตใจที่จะกำหนดผลลัพธ์ของงานที่อยากจะให้ เป็น ในความคิดของดิฉันคำแนะนำที่ดูเรียบง่ายต้องอาศัยความรู้ที่ละเอียดลึกซึ้งและและประสบการณ์ในด้านศิลปะ ท่านบอกกับดิฉันว่าตอนที่ท่านยังเด็ก ท่านโชคดีมากที่เพื่อนซื้อสีที่ดีและราคาแพงจากต่างประเทศแล้วมาแบ่งกันใช้ ท่านได้เข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีชาวอิตาเลียน ท่านมองดูภาพเก่าของท่านและเพื่อนๆแล้วพูดถึง เพื่อนบางคนในภาพที่เคยทำงานด้วยกัน หลายคนเสียชีวิตแล้วไป เนื่องจาก เป็นผู้สูงวัย ท่านได้เล่าให้ดิฉันฟังถึงรูปแบบการทำงานที่เพื่อนๆท่านชอบใช้ และประเภทงานศิลปะที่พวกเขาเหล่านั้นทำได้

เมื่อเพิ่มความสนใจที่มากกว่าเดิม ดิฉันมองไปที่ภาพถ่ายของคุณพิชัย เพื่อน ของท่านและศาสตราจารย์ศิลป์ เพื่อนของท่านบางคนมาจากต่างคณะแต่ทุก คนก็รักงานศิลปะเช่นกัน ดิฉันบอกคุณพิชัยว่าเพื่อนท่านหน้าตาดีและทุกคน ได้รับการสอนศิลปะและแนวคิดทางศิลปะในสไตล์ยุโรป จากนั้นจึงเปลี่ยน
หัวข้อไปพูดถึงเรื่องอาจารย์ศิลป์ คุณพิชัยบอกว่าศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้ที่ อุทิศตนเองช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจน คุณพิชัยก็เป็นหนึ่งใน นักศึกษากลุ่มนั้นที่ศาสตราจารย์ศิลป์ช่วยเหลือทางการเงินโดยการหา ทุนการศึกษาค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์วาดรูปจากบุคคลภายนอก ศาสตราจารย์ศิลป์ต้องการให้คุณพิชัยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและเป็น ศิลปินทึ่ดีในอนาคตเพราะศาสตราจารย์ศิลป์มองเห็นความมุ่งมั่น ความมุ่งมั่น ความคิดสร้างสรรค์และพรสวรรค์ทางศิลปะที่หาได้ยาก



คุณพิชัยได้รับเหรียญทองแดงสาขาจิตรกรรมจากงานประกวดศิลปกรรม แห่งชาติครั้งที่ 11 ตอนที่ท่านยังเป็นนักศึกษาในปีพ.ศ. 2503 ชื่อของ ภาพเขียนชิ้นนั้นคือ “จุดจบ (The End)” ศาสตราจารย์ศิลป์กล่าวกับแขกที่มา ในงานนิทรรศการและกล่าวชื่นชมคุณพิชัยว่า “เราเชื่อว่าศิลปินหนุ่มผู้นี้มี คุณสมบัติ ซึ่งถ้าได้นำออกมาใช้แล้วก็อาจทำงานศิลป์ได้ดียิ่ง” (ประโยคนี้ ได้รับการบันทึกจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจากสูจิบัตรงานประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 12 ปีพ.ศ. 2504) เมื่องานนิทรรศการปีพ.ศ. 2503
จบลงอาจารย์ศิลป์ได้นำภาพนี้ไปแขวนในสำนักงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และในตอนนี้ภาพนี้ก็ยังอยู่ที่เดิม

 คุณพิชัย นิรันต์ไม่เคยหยุดสร้างสรรค์งานศิลปะ ท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้ใน หนังสือหลายเล่ม “ผมรู้สึกว่าการทำงานศิลปะช่วยให้ผมตระหนักถึงคุณค่าที่ แท้จริงของชีวิต ถ้าผมหยุดทำงานศิลปะ ผมคงรู้สึกเหี่ยวแห้งอับเฉา” ในปัจจุบันนี้คุณพิชัยงานของคุณพิชัยจะเน้นไปที่รูปรอยพระพุทธบาทที่มีสีสัน
สดใส และปรัชญาทางศาสนาพุทธ ภาพเหล่านี้จะเป็นภาพนามธรรมแต่ภาพ บางส่วนก็เป็นภาพวิวทิวทัศน์และภาพดอกไม้ เมื่อมองไปยังภาพเหล่านี้เราเห็น ว่าดอกบัวบาน นก และปลาเป็นสัญลักษณ์ที่ท่านใช้ในงานเขียนหลายชิ้นซึ่งมี ความหมายบอกเป็นนัยถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นวงจรชีวิตของมนุษย์และ สัตว์ และภาพพระพุทธรูป ท่านเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดวาดภาพรอยพระพุทธบาท ผลงานที่เป็นที่รู้จักก็คือ วัฏจักรแห่งชีวิต (ภาพเขียน) ดวงตาธรรม (พ.ศ. 2548 งานประติมากรรม) เจตสิกนคร (พ.ศ. 2550 สื่อผสม)


คุณพิชัยได้จัดแสดงผลงานในหลายๆประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ค) และกรุงปักกิ่ง (ประเทศ จีน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 2547 หลังจากจบการศึกษาท่านเป็นครูสอน อยู่ที่วิทยาลัยช่างศิลป์และทำงานที่กรมศิลปากรจนกระทั่งได้รับตำแหน่งนาย
ช่างศิลปกรรม ระดับ 8 ในปีพ.ศ. 2538 ท่านลาออกจากงานราชการมาเป็นศิลปินอิสระ

ต่อไปนี้เป็นการสัมภาษณ์คุณพิชัย นิรันต์ที่บ้านและสตูดิโอในจังหวัดเชียงใหม่









จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาด้านศิลปะ

พิชัย: ในปีพ.ศ. 2498 – 2499 ผมเริ่มต้นเรียนศิลปะที่โรงเรียนศิลปะศึกษาในกรุงเทพ ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยช่างศิลป์ 1หลังจากที่ผมเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเวลา 3 ปี ในปีพ.ศ. 2503 ผมทำงานศิลปะและได้ทำงานเป็นครูสอนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ก่อนหน้านี้ผมทำงานแนวเสมือนจริงในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ในที่สุดผมก็หันมาหางานในสไตล์ที่ผมชอบคือการเขียนภาพนามธรรม นับจากนี้ไปผมได้รวมเอาแนวคิดและสัญลักษณ์จากศาสนาพุทธเพื่อแสดงปรัชญาพุทธศาสนาและและคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งนี้ช่วยผมได้มากในการที่จะเปลี่ยนสไตล์งานศิลปะของผมให้เน้นงานนามธรรมอิงพระพุทธศาสนา



จานีน: อยากถามคุณพิชัยเกี่ยวกับรางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

พิชัย: ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 – 2506 ผมส่งภาพเขียนในงานนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 11 12 14 และ 15 ที่จัดที่กรุงเทพ ผมได้รับเหรียญทองแดงเหรียญเงิน เหรียญทอง และอีกหนึ่งเหรียญทองแดง ในปีพ.ศ. 2538 ผมได้รับเหรียญทองพระมหาชนกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และในปีพ.ศ. 2546 ผมได้รับเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)



จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับผลงานที่สำคัญที่ท่านเคยทำเพื่อพระพุทธศาสนาและในหลวง

พิชัย: ในปีพ.ศ. 2528-2530 ผมได้ออกแบบ 3 ใน 4 ตำบลของสังเวชนียสถานที่พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม1 โพธิบัลลังค์ สัญลักษณ์ของตำบลตรัสรู้ 2 พระแท่นไสยาสน์ สัญลักษณ์ตำบลปรินิพพาน 3 พระธรรมจักร สัญลักษณ์ของตำบลพระปฐมเทศนา ผมยังได้เป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ ขยายแบบ และควบคุมการแกะสลักหินแกรนิตที่นั่นอีกด้วย



ในปีพ.ศ. 2538 ผมเป็น 1 ใน 8 ศิลปินที่ร่วมเขียนภาพประกอบหนังสือเรื่อง“พระมหาชนก” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอีกงานหนึ่งคือร่วมสนับสนุนการประกวดภาพจิตรกรรม วีรกรรมหรือคุณลักษณะที่สำคัญในอดีตของทหารบก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดโดยกองทัพบก

จานีน: ท่านรู้สึกอย่างไรกับศิลปะและสังคมไทย

พิชัย: ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญและเข้าใจศิลปะมากกว่าในอดีต ดังจะเห็นได้ว่ามีนักสะสมงานศิลปะมากขึ้นและคุณภาพชีวิตของศิลปินก็ดีขึ้นเพราะว่าสังคมไทยเริ่มที่จะรู้คุณค่าที่แท้จริงของงานศิลปะและศิลปินก็เป็นที่เคารพนับถือ สำหรับค่านิยมกระแสหลักในอดีตพ่อแม่หลายท่านไม่สนับสนุน
ลูกให้เรียนศิลปะเพราะอยากให้ลูกเป็นทหาร ตำรวจ แพทย์หรือว่าเป็นนักธุรกิจและก็เป็นเพราะว่าพ่อแม่มีความเชื่อว่าอาชีพศิลปินไม่มีอนาคต ในเวลานั้นนักเรียนหลายคนที่รักในงานศิลปะอย่างแท้จริงตัดสินใจสมัครเข้าสถาบันสอนศิลปะทั้งๆที่พ่อแม่ไม่เห็นด้วย

ศิลปินไทยในสมัยก่อนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันล้ำเลิศเพื่อพระพุทธศาสนาดังที่ได้พบเห็นจากโบราณสถานและของโบราณเก่าแก่จากหลายยุคสมัยสำหรับผมแล้วผมรู้สึกเสียดายที่สังคมไทยในตอนนี้ได้รับอิทธิพลมากจากกระแสวัตถุนิยม ศิลปินไทยหลายท่านไม่อยากจะรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญของศิลปะโบราณหรือว่าศิลปะโบราณเกี่ยวข้องกับสังคมไทยและวิถีชีวิตอย่างไรผมรู้สึกกังวลมากว่าศิลปะไทยโบราณและความรู้ต่างๆอาจถูกลืมเลือนไปในอนาคตอันใกล้นี้ ในอีกทางหนึ่งทุกคนดูเหมือนว่าใช้ชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางศิลปะสมัยใหม่ ที่มีทั้งเสื้อผ้า เครื่องมือ อาคาร บ้านพัก ยานพาหนะสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองทางศิลปะ จนคุณสามารถมองเห็นความงานในนวัตกรรมการประดิษฐ์ต่างๆนี้ ที่เป็นประโยชน์

งานสร้างสรรค์ทางศิลปะของผมทุกชิ้นมีจุดประสงค์สำคัญที่จะแสดงวิธีการคิดที่รวบรวมการสอนศีลธรรมจากศาสนาอื่นๆ และปรัชญาพระพุทธศาสนาในรูปแบบของงานศิลปะที่ส่งเสริมการคงอยู่ของสังคมที่สงบสุข



ผมสร้างงานศิลปะเพื่อค้นหาความงดงาม สุนทรียภาพสำหรับความสุขเพื่อจิตวิญญาณของผมและสังคมให้มีโอกาสชื่นชมงานศิลปะมากขึ้น วิถีทางของการสร้างสรรค์ของผมอาจเป็นแนวทางที่เรียบง่ายสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ให้นำไปขยายและปรับปรุงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ศิลปะเป็นผลผลิตจากสมองและความ
ขยันคิดพิจารณา ศิลปะช่วยฝึกฝนใจชองมนุษย์ให้มีความอ่อนโยนและดีงามในความคิดของผมแล้วถ้าคนเราไม่มีศิลปะก็คงจะไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลยศิลปะนั้นเหมือนเป็นลัทธิ ความเชื่อหรือแม้กระทั่งศาสนาแห่งโลกที่สามารถสร้างสันติภาพให้กับมนุษยชาติทั้งมวลได้























A. Chang : Sanpol Yasovant 







Pichai has exhibited in many countries such as Japan, Singapore, Malaysia, Philippines, France, USA (New York) and Beijing (China) from 1963 – 2004. After graduation he was a teacher at Chang Sin College and the worked at the Fine Arts department until he received the title of Artisan Grade 8. In 1995 he left his job to become the freelance artist.















JY: Can you tell me about your art education?

PN: In 1955-56 I began to study at an art school called “Silpa Suksa School” in Bangkok. Later it was renamed Chang Sin College. After that I attended the Silpakorn University for 3 years. In 1960 I created some works of art and worked as an art teacher at Chang Sin College. Initially I did some realistic artworks for a brief period of time but at last I turned to find my preferred style in abstract paintings. From this point onwards I also incorporated some concepts as well as symbols from Buddhism to express Buddhism philosophy and the Buddha’s teachings. This helps me greatly to shape my whole art style to focus solely on abstract Buddhism Art.



JY: Can you tell me about awards and honored you received?

PN: From 1960 -1963 I sent my paintings to the 11th, 12th, 14th and 15th National Exhibitions of Art in Bangkok. I received a bronze medal, a silver medal, a gold medal and another bronze medal respectively. In 1995 I received the Mahajanaka Gold Medallion from His Majesty the King Bhumibhol Adulyadej and in 2003 I was selected to be the National Artist in Visual Art (Painting) from the Office of National Culture Commission.


JY: I would like to know more about some important works you did for Buddhism and the King of Thailand

PN: In 1985-87 I designed three of the four Buddhist Commemorative Sites at Buddha Monthol at Salaya Sub-district, Nakorn Chai Sri District, Nakorn Pathom Province — (1) Diamond Throne: symbol of enlightenment. (2) Bed of the Buddha: symbol of Nirvana and (3) Wheel of Buddha’s Teaching: symbol of the first preaching sermon. I also engaged in model enlargement and CI-supervision of granite sculpting there.



In 1995 I was one of the eight artists who were invited to illustrateHis Majesty the King’s book “The Story of Mahajanaka” – to support the Royal Thai Army’s exhibition glorifying the virtues of Thailand’s past soldiers, organized on the occasion of His Majesty’s 50Years Reign.

JY: What do you feel about art and Thai society?

PN: At the present, Thai society gives so much importance and understands art more than in the past. We can see that there are more art collectors and the artist’s quality of life is getting better because Thai society started to know the real value of art and artists are well respected. For the mainstream value of the past, many Thai parents did not encourage their children to study art because they wanted their children to be soldiers, police, physicians or businessmen and because some parents believed that an artist's career had no future. At that time many students who truly loved art decided to enroll in arts institutes despite their parents’ disapproval.

Thai artists in ancient time mainly created marvelous works of art for Buddhism as can be seen in archeological sites and ancient relics from different periods. For me, it is quite sorrowful that Thai society is now heavily influenced by materialism. Many Thai artists no longer want to know about the importance of ancient art or how ancient arts relate to Thai society and the way of life. This worries me so much that ancient Thai art and knowledge might be forgotten in the near future. On the other hand, everyone seems to live joyfully among modern arts including clothes, tools, buildings, houses, vehicles, etc. Those things were designed and created by experts who have the artistic perspective as you can see the beauty in such useful innovations.

All my artistic creations have a principal objectiveto express a way of thinking that combines moral teachings from other religions and Buddhism philosophy in the form of art works that promote the existence of peaceful society.



I create a work of art to find the beauty, the aesthetic of happiness for my soul and for society to have more chances to appreciate art works. The way of my creation might be a simple guideline for younger artists to expand and improve it for better future. Art is a product of the brain and thoughtful diligence. Art helps to train the human mind to be more gentle and virtuous. In my view, if people have no art, they will not be different from any animals at all. Art is like another doctrine or belief or even a religion of the world that can make peace for all mankind.



http://www.scene4.com/archivesqv6/2015/mar-2015/0315/janineyasovant0315.html


in Thai and English 


No comments:

Post a Comment

Temp song